การให้เหตุผลแบบนิรนัยเป็นการนำความรู้พื้นฐานซึ่งอาจเป็นความเชื่อ ข้อตกลง กฎ หรือบทนิยาม ซึ่งเป็นสิ่งที่รู้มาก่อน และยอมรับว่าเป็นความจริงเพื่อหาเหตุผลนำไปสู่ข้อสรุป เป็นการอ้างเหตุผลที่มีข้อสรุปตามเนื้อหาสาระที่อยู่ภายในขอบเขตของข้ออ้างที่กำหนด
ตัวอย่างที่ 1 เหตุ 1.สัตว์เลี้ยงทุกตัวเป็นสัตว์ไม่ดุร้าย
2. แมวทุกตัวเป็นสัตว์เลี้ยง
ผล แมวทุกตัวเป็นสัตว์ไม่ดุร้าย
ตัวอย่างที่ 2 เหตุ 1. นักเรียน ม.4ทุกคนแต่งกายถูกระเบียบ
2. สมชายเป็นนักเรียนชั้น ม.4
ผล สมชายแต่งกายถูกระเบียบ
ตัวอย่างที่ 3 เหตุ 1.วันที่มีฝนตกทั้งวันจะมีท้องฟ้ามืดครึ้มทุกวัน
2. วันนี้ท้องฟ้ามืดครึ้ม
ผล วันนี้ฝนตกทั้งวัน
จากตัวอย่างจะเห็นว่าการยอมรับความรู้พื้นฐานหรือความจริงบางอย่างก่อน แล้วหาสิ่งข้อสรุปจากสิ่งที่ยอมรับแล้วนั้น จะเรียกว่าผล การสรุปผลจะถูกต้องก็ต่อเมื่อ
เป็นการสรุปได้อย่างสมเหตุสมผล
ตัวอย่างที่ 4 เหตุ 1. เรือทุกลำลอยน้ำได้
2. ถังน้ำลอยน้ำได้
ผล ถังน้ำเป็นเรือ
การสรุปผลข้างต้นไม่สมเหตุสมผล แม้ว่าข้ออ้างหรือเหตุทั้งสองจะเป็น แต่การที่เราทราบว่าเรือทุกลำลอยน้ำได้ ก็ไม่ได้หมายความว่าสิ่งอื่นๆที่ลอยน้ำได้จะเป็นเรือเสมอไป
ข้อสรุปข้างต้นเป็นการสรุปที่ไม่สมเหตุสมผล
หลักเกณฑ์และวิธีการอ้างเหตุผลแบบนิรนัย เรียกว่า ตรรกศาสตร์นิรนัย ซึ่งสิ่งที่สำคัญในการให้เหตุผลแบบนิรนัย คือตรรกบท (Syllogism)
ตรรกบทหนึ่ง ๆจะประกอบด้วยข้อความ 3 ข้อความ โดยที่ 2 ข้อความแรกเป็นข้อตั้ง และอีกข้อความหนึ่งเป็นข้อยุติ
ตรรกบท 1 ตรรกบท คือ การอ้างเหตุผลที่ประกอบด้วยพจน์ 3 พจน์ โดยมีพจน์ 2 พจน์ที่มีความสัมพันธ์กับพจน์ที่ 3 ในรูปของภาคประธาน หรือภาคแสดงต่อกันด้วย
เช่น เหตุ 1.สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นสัตว์เลือดอุ่น
2.สุนัขเลี้ยงลูกด้วยนม
ผล สุนัขเป็นสัตว์เลือดอุ่น
ในการให้เหตุผลแบบนิรนัย รวมถึงจากตัวอย่าง จะเห็นว่า การยอมรับความรู้พื้นฐาน
หรือความจริงบางอย่างก่อน แล้วหาข้อสรุปจากสิ่งที่ยอมรับ ซึ่งจะเรียกว่า ผล การสรุปผลจะ
สรุปได้ถูกต้องก็ต่อเมื่อเป็นการสรุปได้อย่าง สมเหตุสมผล (Valid)
เช่น เหตุ 1. หมูอวกาศทุกตัวบินได้
2. โน๊ตบินได้
ผล โน๊ตเป็นหมูอวกาศ
การสรุปในข้อนี้ไม่สมเหตุสมผล (Invalid) แม้ว่าข้ออ้างทั้งสองจะเป็นจริง แต่การที่เราทราบว่า หมูอวกาศบินได้ ก็ไม่ได้หมายความว่าสิ่งอื่นที่บินได้ต้องเป็นหมูอวกาศเสมอไป
ข้อสรุปดังกล่าวจึงไม่สมเหตุสมผล
สรุป การให้เหตุผลแบบนิรนัย ผลหรือข้อสรุปจะถูกต้องก็ต่อเมื่อ ยอมรับเหตุเป็นจริงทุกข้อ และการสรุปสมเหตุสมผล
การตรวจสอบข้อความว่าสมเหตุสมผลนั้น สามารถทำได้หลายวิธี ในที่นี้ จะนำเสนออยู่ 2 วิธี คือ การใช้แผนภาพเวนน์ – ออยเลอร์ในการตรวจสอบ
และการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างข้อความตรวจสอบ...
แนวคิด!!!
การให้เหตุผลแบบนิรนัย
1. อาศัยหลักฐานจากความรู้เดิม
2. เริ่มต้นจากข้ออ้างซึ่งมีลักษณะทั่วไป (Universal) ไปสู่ข้อสรุปซึ่ง มีลักษณะเฉพาะ (particular)
3. ความน่าเชื่อถือของข้อสรุปอยู่ในขั้นความแน่นอน (Certainty)
4. ไม่ให้ความรู้ใหม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น