วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การให้เหตุผลแบบอุปนัย (Inductive Reasoning)

การให้เหตุผลแบบอุปนัย เป็นวิธีการสรุปผลมาจากการค้นหาความจริงจากการสังเกตหรือการทดลองหลายครั้งจากกรณีย่อยๆ แล้วนำมาสรุปเป็นความรู้แบบทั่วไป
           การหาข้อสรุปหรือความจริงโดยใช้วิธีการให้เหตุผลแบบอุปนัยนั้น  ไม่จำเป็นต้องถูกต้องทุกครั้ง  เนื่องจากการให้เหตุผลแบบอุปนัยเป็นการสรุปผลเกิดจากหลักฐานข้อเท็จจริงที่มีอยู่  ดังนั้นข้อสรุปจะเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล หลักฐานและข้อเท็จจริงที่นำมาอ้างซึ่งได้แก่ 
     1. จำนวนข้อมูล หลักฐานหรือข้อเท็จจริงที่นำมาเป็นข้อสังเกตหรือข้ออ้างมีมากพอกับการสรุปความหรือไม่ เช่น  ถ้าไปทานส้มตำที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งแล้วท้องเสีย แล้วสรุปว่า ส้มตำนั้นทำให้ท้องเสีย การสรุปเหตุการณ์นั้นอาจเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว ย่อมเชื่อถือได้น้อยกว่าการที่ไปรับประทานส้มตำบ่อยๆแล้วท้องเสียเกือบทุกครั้ง
     2. ข้อมูล หลักฐานหรือข้อเท็จจริง เป็นตัวแทนที่ดีในการให้ข้อสรุปหรือไม่ เช่น ถ้าอยากรู้ว่าคนไทยชอบกินข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียวมากกว่ากัน   ถ้าถามจากคนที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือหรือภาค-อีสาน คำตอบที่ตอบว่าชอบกินข้าวเหนียวอาจจะมีมากกว่าชอบกินข้าวจ้าว แต่ถ้าถามคนที่อาศัยอยู่ในภาคกลางหรือภาคใต้ คำตอบอาจจะเป็นในลักษณะตรงกันข้าม
       
        ตัวอย่างการให้เหตุผลแบบอุปนัย
           ตัวอย่างที่ 1       จงหาว่า ผลคูณของจำนวนนับสองจำนวนที่เป็นจำนวนคี่ จะเป็นจำนวนคู่หรือจำนวนคี่ โดยการให้เหตุผลแบบอุปนัย
                  วิธีทำ          เราจะลองหาผลคูณของจำนวนนับที่เป็นจำนวนคี่หลาย ๆ จำนวนดังนี้
                                      1 × 3 = 3                      3 × 5 = 15                  5 × 7 = 35            7 × 9   = 63
                                      1 × 5 = 5                      3 × 7 = 21                  5 × 9 = 45            7 × 11 = 77
                                      1 × 7 = 7                      3 × 9 = 27                  5 × 11 = 55          7 × 13 = 91 
                                      1 × 9 = 9                      3 × 11 = 33                5 × 13 = 65          7 × 15 = 105

                   จากการหาผลคูณดังกล่าว โดยการอุปนัย จะพบว่า ผลคูณที่ได้เป็นจำนวนคี่
สรุป ผลคูณของจำนวนนับสองจำนวนที่เป็นจำนวนคี่ จะเป็นจำนวนคี่ โดยการให้เหตุผลแบบอุปนัย
      
                ตัวอย่างที่ 2    จงหาพจน์ที่อยู่ถัดไปอีก 3 พจน์
                                    1)  1, 3, 5, 7, 9, ...
                                    2)  2, 4, 8, 16, 32, ...
                   วิธีทำ      1) จากการสังเกต พบว่า แต่ละพจน์มีผลต่างอยู่ 2
                                          (3 – 1 = 2, 5 – 3 = 2, 9 - 7 = 2) ดังนั้น อีก 3 จำนวน คือ 11, 13, 15
                                   2) จากการสังเกต พบว่า แต่ละพจน์จะมีการไล่ลำดับขึ้นไป ถ้าลองสังเกตดู จะอยู่ในรูปแบบ 2×2n โดยที่ n เป็นจำนวนเต็มบวกที่เริ่มตั้งแต่ 0
ดังนั้น พจน์ที่ 6 คือ 2×25 =64, พจน์ที่ 7 คือ 128 และพจน์ที่ 8 คือ 256
                  หรืออาจมองในอีกแง่หนึ่ง เราจะพบว่า จำนวนแต่ละจำนวนจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ 2 เท่าก็ได้

                  ตัวอย่างที่ 3    ให้เลือกจำนวนนับมาหนึ่งจำนวน และปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
1.             คูณจำนวนนับที่เลือกไว้ด้วย 4
2.             บวกผลลัพธ์ในข้อ 1. ด้วย 6
3.             หารผลบวกในข้อ 2.ด้วย 2
4.             ลบผลหารในข้อ 3.  ด้วย 3
เช่นถ้าเลือก 5
         1. คูณจำนวนที่เลือกไว้ด้วย   4     จะได้     5 x 4    =    20
         2. บวกผลลัพธ์ในข้อ 1.  ด้วย  6   จะได้    20 + 6   =   26
         3. หารผลบวกในข้อ 2.  ด้วย 2   จะได้      =   13
         4. ลบผลหารในข้อ 3.  ด้วย 3     จะได้     13 – 3    =   10
         จะพบว่าจากจำนวนที่เลือก คือ  5 จะได้คำตอบสุดท้ายเท่ากับ 10 ซึ่งจะมีค่าเท่ากับสองเท่าของจำนวนที่เลือกไว้ครั้งแรกเสมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น